วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นิยามของคลังข้อมูล (Definition of a Data Warehouse)

ปัจจุบันนี้องค์ส่วนใหญ่ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับองค์กรคือข้อมูลที่มีอยู่และใช้ประจำวัน (Operational Database) ซึ่งนับวันจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในแต่ละองค์กร ที่จะต้องมีการจัดเก็บอย่างดี ในอดีตการจัดเก็บข้อมูลเป็นเพียงการจัดเก็บบนเทปแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ แผ่นซีดี ซึ่งมักจะเสี่ยงกับการสูญหายของข้อมูล และการค้นหาข้อมูลก็ทำได้ยากและใช้เวลานาน ยิ่งข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ หรือมีขนาดใหญ่ ยิ่งเสี่ยงมาก อีกทั้ง การประมวลผลของข้อมูลยังช้าอีกด้วย ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นวิธรการจัดเก็บข้อมูลเพื่อสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นก็คือ การจัดเก็บข้อมูลในระบบคลังข้อมูล หรือ Data Warehouse นั่นเอง เรามาทำความเข้าใจกับคลังข้อมูลกันก่อนว่า คลังข้อมูลนี้เป็นอย่างไร


คลังข้อมูล หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งๆ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบงานประจำวัน หรือเรียกอีกอย่างว่า operational database และฐานข้อมูลอื่นภายนอกองค์กร หรือเรียกว่า external database โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในคลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้งานและมีลักษณะของการจัดเก็บแตกต่างไปจากข้อมูลในฐานข้อมูลระบบงานอื่น และสามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังได้หลายๆปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจหรือใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการวิเคราะห์ต้องทำได้แบบหลายมิติ (Multidimensional Analysis) โดยข้อมูลในคลังข้อมูลจะถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงานของผู้บริหาร โดยเฉพาะการเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงาน เพื่อการบริหารงานอื่น เช่น ระบบ DSS และระบบ CRM เป็นต้น)
วัตถุประสงค์ของการสร้างคลังข้อมูล
เป้าหมายของการสร้างคลังข้อมูล คือ การแยกกลุ่มข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางธุรกิจออกจากฐานข้อมูลที่ใช้งานประจำวัน (Operational Database) มาเก็บอยู่ใน Relational Database Management Systems (RDBMS) ประสิทธิภาพสูง และทำให้การเรียกใช้ข้อมูลทำได้อย่างยืดหยุ่น จากเครื่องมือที่มีอยู่บนเดสก์ทอปทั่วไป โดยลด off-loading เพิ่มกลไกช่วยการตัดสินใจ ปรับปรุงเวลาที่ตอบสนอง (response time) รวดเร็วยิ่งขึ้นอย่างมากละผู้บริหารสามารถเรียกข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็น ที่ถูกเก็บมาก่อนหน้านี้ (historical data) มาช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างแม่นยำขึ้น


ประโยชน์ของคลังข้อมูล
โดยทั่วไปแล้วข้อมูล Operational Database จะเก็บข้อมูลในรูปแบบ Transaction Systems เมื่อมีความต้องการในการจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจก็จะประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น การเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ส่งผลช้า ข้อมูลเก็บแบบเป็นตารางเท่านั้น และการนำเสนอเป็นรูปแบบที่ตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้ใช้ ไม่ตอบสนองความต้องการของการตัดสินใจ เพราะข้อมูลมีความสัมพันธ์แบบซับซ้อนสูง ซึ่งข้อมูลมีการรวมตัวจากตารางหลายๆตารางมารวมกัน มีข้อมูลย้อนหลังน้อย ข้อมูลถูกจัดเก็บแบบกระจายซึ่งยากต่อการเรียกใช้ และเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล
จากอุปสรรคดังกล่าว ทำให้คลังข้อมูลถูกออกแบบให้มีการตอบสนองงานในรูปแบบการตัดสินใจ โดยแยกฐานข้อมูลออกจาก Operational Database และเก็บข้อมูลในรูปของข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์นั้นต้องทำได้หลายมิติ ข้อมูลจะมีความถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สำหรับการนำไปช่วยในการตัดสินใจรวดเร็วยิ่งขึ้น
การจัดทำคลังข้อมูลจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันนี้ผู้ใช้และผู้บริหารงานของหน่วยงานในองค์กรต่างๆ เริ่มมีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับข้อมูลมากขึ้น และเริ่มตระหนักว่าหากนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เข้าใจสถานภาพหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะทำให้หน่วยงานหรือองค์กร พัฒนาและวางแผนสำหรับงานต่อๆไปได้เป็นอย่างดี ประโยชน์ของ Data Warehouse สามารถจำแนกได้เป็นข้อๆ ดังนี้
o ทำการรวบรวมข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้ง่ายต่อการจัดเก็บ
สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ช่วยเสริมสร้างความรู้ของบุคลากรในองค์กร และสนับสนุนการตัดสินใจให้เกิดประสิทธิภาพ
สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจให้มีความรวดเร็วขึ้น
คุณสมบัติของคลังข้อมูล
1. Consolidated and Consistant
Consolidated หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมาไว้ที่ศูนย์กลางเดียวกัน (คลังข้อมูล)
Consistant หมายถึง ข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่รวบรวมมาไว้ในคลังข้อมูล จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน รูปแบบเดียวกันและสอดคล้องกัน
2. Subject-Oriented Data หมายถึง เก็บข้อมูลในระดับปฏิบัติการเฉพาะส่วนที่นำมาใช้เชิงวิเคราะห์หรือ เชิงตัดสินใจมากกว่าการเก็บข้อมูลเพื่อตอบคำถาม
3. Historical Data หมายถึง จะเก็บย้อนหลังเป็นเวลาหลายๆปี เพื่อจะได้นำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบหาแนวโน้มของข้อมูลเปรียบกับปีที่ผ่านมา
4. Read – Only Data หมายถึง ข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ควรมีการแก้ไขหลังจากที่นำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลของคลังข้อมูลแล้วไม่มีการ Insert update or delete ข้อมูลภายในคลังข้อมูลนอกจากการเพิ่มข้อมูลเข้าอย่างเดียว
คุณลักษณะเฉพาะของคลังข้อมูล
1. Subject oriented หรือการแบ่งโครงสร้างตามเนื้อหา หมายถึง คลังข้อมูลถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นไปในแต่ละเนื้อหาที่สนใจ ไม่ได้เน้นไปที่การทำงานหรือกระบวนการแต่ละอย่างโดยเฉพาะเหมือนอย่างฐานข้อมูลปฏิบัติการในส่วนของรายละเอียดข้อมูลที่จัดเก็บในระบบทั้งสองแบบก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งานด้วยเช่นกัน คลังข้อมูลจะไม่จำกัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ในขณะที่ข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลปฏิบัติการหากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน
2. Integration หรือการรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของคลังข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลปฏิบัติการเข้าด้วยกัน และทำให้ข้อมูลมีมาตราฐานเดียวกัน เช่นกำหนดให้มีค่าตัวแปรของข้อมูลในเนื่อหาเดียวกันให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
3. Time variancy หรือความสัมพันธ์กับเวลา หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูล จะต้องจัดเก็บโดยกำหนดช่วงเวลาเอาไว้ โดยจะสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจของหน่วยธุรกิจนั้น เพราะในการตัดสินด้านการบริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา แต่ละจุดของข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับจุดของเวลาและข้อมูลแต่ละจุดสามารถเปรียบเทียบกันได้ตามแกนของเวลา
4. Nonvolatile หรือความเสถียรของข้อมูล หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ หรือการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเดิมที่บรรจุอยู่แล้ว ผู้ใช้ทำได้เพียงการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น


สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล
1. Operational database หรือ external database layer ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลในระบบงานปฏิบัติการหรือแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร
2. Information access layer เป็นส่วนที่ผู้ใช้ปลายทางติดต่อผ่านโดยตรง ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการแสดงผลเพื่อวิเคราะห์ โดยมีเครื่องมือช่วย เป็นตัวกลางที่ผู้ใช้ใช้ติดต่อกับคลังข้อมูล
3. Data access layer เป็นส่วนต่อประสานระหว่าง Information access layer กับ operational layer
4. Metadata layer เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มความเร็วในการเรียกและดึงข้อมูลของคลังข้อมูล
5. Process management layer ทำหน้าที่จัดการกระบวนการทำงานทั้งหมด
6. Application messaging layer เป็นมิดเดิลแวร์ (Middleware) ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรผ่านทางเครือข่าย
7. Data warehouse (physical) layer เป็นแหล่งเก็บข้อมูลของทาง information data และ external data ในรูปแบบที่ง่ายแก่การเข้าถึงและยืดหยุ่นได้
8. Data staging layer เป็นกระบวนการการแก้ไข และดึงข้อมูลจาก external database


ข้อเสียของคลังข้อมูล
1. ขั้นตอนการกลั่นกรองและโหลดข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูลใช้เวลานาน และต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญ
2. แนวโน้มความต้องการข้อมูลมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
3. ใช้เวลานานในการพัฒนาคลังข้อมูล
4. ระบบคลังข้อมูลมีความซับซ้อนสูง


โมเดลข้อมูลของคลังข้อมูลของ Data Warehouse
โมเดลข้อมูลของคลังข้อมูลของ Data Warehouse ซึ่งเปรียบเสมือนกับรูปลูกบาศก์ที่มีมุมมองหลากหลาย แต่ละมุมมองทำให้เกิดการคิวรีข้อมูลจาก Data Warehouseได้หลากหลายแบบคิวบ์ (Cube) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ Dimention และ Measure การผสมผสานของ Dimention ต่างๆ ของคิวบ์ (Cube) ในบทนี้ คิวบ์ (Cube) มีโครงสร้างได้ 2 แบบคือ โครงสร้างแบบ Star Schema และ โครงสร้างแบบ Snowflake Schema
Dimensional Modeling
Dimensional Modeling เป็นชื่อเรียกของเทคนิคในการทำให้ฐานข้อมูลง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยการมองภาพของฐานข้อมูลเป็นลูกบาศก์ที่มี 3,4,5 มิติ หรือมากกว่านั้น ทำให้สามารถจิตนาการการ หันหรือแบ่งลูกบาศก์ที่มีลักษณะเหมือนลูกเต๋านี้ได้ นั่นคือสามารถตัดข้อมูลมาวิเคราะห์ดูในช่วงใดก็ได้ และหมุนข้อมูลดูได้จากทุกๆด้านของลูกเต๋า ตัวอย่างเช่น เราขายสินค้า (product) ในหลายๆที่ (market) และในช่วงเวลาต่างๆกัน (time) เราสามารถสร้าง Dimensional Modeling ได้โดยให้ label คือ product, market และ time อยู่บนแต่ละด้านของลูกบาศก์ที่เป็น 3 มิติ แต่ละจุดภายในลูกบาศก์เกิดจากการตัดของ coordinate ซึ่งมี label อยู่ที่ขอบของลูกบาศก์ ดังนั้นจุดต่างๆภายในลูกบาศก์คือผลลัพธ์ทางด้านธุรกิจที่พิจารณาจากทั้ง 3 เรื่องคือ สินค้า, ทีขายสินค้า, เวลา พร้อมๆกัน

เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศ SDLC

วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) 7 ขั้นตอน
วงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบสารสนเทศ



วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) ของระบบสารสนเทศ ได้มีการคิดค้นขึ้นมาโดยมีขึ้นตอนที่แตกต่างไปจากวงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบงานทั่วไป ตรงที่มีขั้นตอนในการพัฒนาระบบงานที่ละเอียดว่าถึง 7 ขั้นตอน ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนว่าทำอะไรและทำอย่างไร สามารถแบ่งออกเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ






ภาพ แสดงวงจรกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนเสร็จเป็นระบบงานที่ใช้ได้

1. ค้นหาปัญหา โอกาสและเป้าหมาย (Identifying Problems, Opportunity and Objective)
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
3. วิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Analyzing System Needs)
4. การออกแบบระบบ (Designing the Recommended System)
5. พัฒนาซอฟต์แวร์และจัดทำเอกสาร (Developing and Documenting Software)
6. ทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing and Maintaining the System)
7. ดำเนินงานและประเมินผล (Implementing and evaluating the System)

1. ค้นหาปัญหา โอกาสและเป้าหมาย (Identifying Problems, Opportunity and Objective)
ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักว่าต้องการระบบสารสนเ
ทศ หรือต้องแก้ไขระบบเดิม โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องศึกษาระบบโดยละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ตัวอย่างปัญหา เช่น


บริษัท ก เปิดสาขาเพิ่มมากขึ้น ระบบเดิมไม่ได้ครอบคลุมถึงการขยายตัวของบริษัท
บริษัท ข เก็บข้อมูลผู้ขายได้เพียง 1,000 ราย แต่ปัจจุบันระบบนี้มีข้อมูลผู้ขาย 900 ราย และในอนาคตจะมีเกิน 1,000 ราย
ระบบสารสนเทศในองค์กรหลาย ๆ แห่งในปัจจุบัน ที่ใช้มานานแล้วและใช้เพื่อติดตามเรื่องการเงินเท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นสารสนเทศเพื่อตัดสินใจ
1.2 พยายามหาโอกาสในการปรับปรุงวิธีการทำงานโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ 1.3 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องมองเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อจะได้รู้ทิศทางของการทำระบบให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ต้องการแข่งขันกับคู่แข่งในเรื่องการลดต้นทุนในการผลิตสินค้า โดยการลดจำนวนการสต็อกวัตถุดิบ ดังนั้น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ จะเห็นถึงปัญหา โอกาส และเป้าหมายในการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการเก็บข้อมูลสต็อกวัตถุดิบ และประมวลผลการสั่งวัตถุดิบ เป็นต้น

2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
2.1 กำหนดว่าปัญหาคืออะไร และตัดสินใจว่าจะพัฒนาสร้างระบบสารสนเทศใหม่หรือการแก้ไขระบบ สารสนเทศเดิมมีความเป็นไปได้หรือไม่ โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยที่สุด
2.2 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องกำหนดให้ได้ว่าการแก้ปัญหานั้น
2.2.1 มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคหรือไม่ เช่น จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ ซอฟต์แวร์แก้ไขได้หรือไม่
2.2.2 มีความเป็นไปได้ทางบุคลากรหรือไม่ เช่น มีบุคคลที่เหมาะสมที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบหรือไม่ ผู้ใช้มีความคิดเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลง
2.2.3 มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ เช่น มีเงินลงทุนหรือไม่ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์และออกแบบ ค่าใช้จ่ายในด้านเวลาที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ ดังนั้นในการศึกษาความเป็นไปได้นั้นสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ

หน้าที่ : กำหนดปัญหาและศึกษาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ
ผลลัพธ์ : รายงานความเป็นไปได้
เครื่องมือ : เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบและคาดคะเนความต้องการของระบบ
บุคลากรและหน้าที่รับผิดชอบ :
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบต้องเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ต้องคาดคะเนความต้องการของระบบและแนวทางแก้ไขปัญหา
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ กำหนดความต้องการที่แน่ชัด เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบ โดยที่ผู
บริหารจะตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่หรือยกเลิกโครงการ
3. วิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Analyzing System Needs)

3.1 เริ่มตั้งแต่ศึกษาการทำงานของธุรกิจเดิม ว่าทำงานอย่างไร
3.2 กำหนดความต้องการของระบบใหม่
3.3 เครื่องมือ : Data Dictionary, DFD, Process Specification, Data Model, Prototype
3.4 บุคลากรและหน้าที่ : ผู้ใช้ต้องให้ความร่วมมือ
3.5 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบศึกษาเอกสารที่มีอยู่ และศึกษาระบบเดิมเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานของระบบ
3.6 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบเตรียมรายงานความต้องการของระบบใหม่
3.7 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบเขียนแผนภาพการทำงาน (DFD) ของระบบเดิมและระบบใหม่
3.8 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสร้าง Prototype ขึ้นมาก่อน

4. ออกแบบระบบ (Designing the Systems)
4.1 ออกแบบระบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และผู้บริหาร
4.2 บุคลากรหน้าที่
4.2.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบตัดสินใจเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
4.2.2 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบออกแบบข้อมูล เข้ารายงานการแสดงผลบนหน้าจอ ออกแบบฐานข้อมูล
4.2.3 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบกำหนดจำนวนบุคลากรในระบบ

5. พัฒนาซอฟต์แวร์และจัดทำเอกสาร (Developing and Documenting Software)
5.1 เขียนโปรแกรม จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม และฝึกอบรมผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องในระบบ
5.2 บุคลากรและหน้าที่ :
5.2.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบเตรียมสถานที่และการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
5.2.2 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบวางแผนและดูแลการเขียนโปรแกรม
5.2.3 โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรม
5.2.4 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบดูแลการเขียนคู่มือการใช้โปรแกรมและการฝึกอบรม

6. ทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing and Maintaining the System)
6.1 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบและทีมงานทดสอบโปรแกรม
6.2 ผู้ใช้ตรวจสอบว่าโปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ
6.3 ถ้าเกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรม ให้ปรับปรุงแก้ไข
6.4 เมื่อทดสอบโปรแกรมแล้ว โปรแกรมไม่เป็นไปตามความต้องการ อาจต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่
6.5 การบำรุงรักษา ส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว เนื่องจาก

มีปัญหาในโปรแกรม (Bug)
ธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ธุรกิจขยายตัว ธุรกิจสร้างสินค้าตัวใหม่ความต้องการของระบบก็เพิ่มขึ้น รายงานเพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ความต้องการผู้ใช้มีเพิ่มขึ้น 40-60 % ของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบจะใช้ในการบำรุงรักษาระบบ
7. ดำเนินงานและประเมิน (Implementing and evaluating the System)
7.1 ติดตั้งระบบให้พร้อม
7.2 นำระบบใหม่มาใช้แทนระบบเดิม
7.3 ใช้ระบบใหม่ควบคู่กับระบบเดิมสักระยะหนึ่ง แล้วดูผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ถ้าใช้งานดี ก็เลิกใช้ระบบเดิม และใช้ระบบใหม่
7.4 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบทำการประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงความพอใจของผู้ใช้ระบบ หรือสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุง หรือปัญหาที่พบ

ทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คืออะไร

เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้มีเงินออมสำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

RMF ให้อะไรคุณได้บ้าง
1) ช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม*
2) ช่วยให้คุณมีวินัยในการออม เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ
3) เปิดโอกาสให้คุณมีอิสระที่จะเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณเอง

* ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ผู้ลงทุนจะเสียภาษีน้อยลงก็ต่อเมื่อ เป็นผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน
และเงินบริจาคทั้งปี สูงกว่า 80,000 บาท และมีเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ในปีนั้นๆ น้อยกว่า 295,000 บาท

RMF ช่วยลดภาษีอย่างไร

ผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน RMF มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในปีนั้น ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ฐานเงินได้สุทธิสำหรับการคำนวณภาษีลดลง และส่งผลให้ผู้ลงทุนเสียภาษีน้อยลง

กรณีผู้ลงทุนมีฐานรายได้สูง จะยิ่งมีอัตราการประหยัดภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (ฐานเงินได้ในส่วนที่มากขึ้น จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นด้วย)

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คืออะไร

เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด

LTF ให้อะไรคุณได้บ้าง
1) ช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม*
2) ช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในหุ้นในระยะยาว

* ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ผู้ลงทุนจะเสียภาษีน้อยลงก็ต่อเมื่อ เป็นผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน
และเงินบริจาคทั้งปี สูงกว่า 80,000 บาท และมีเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ในปีนั้นๆ น้อยกว่า 295,000 บาท

LTF ช่วยลดภาษีอย่างไร
ผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน LTF มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในปีนั้น ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ฐานเงินได้สุทธิสำหรับการคำนวณภาษีลดลง และส่งผลให้ผู้ลงทุนเสีย
ภาษีน้อยลง

กรณีผู้ลงทุนมีฐานรายได้สูง จะยิ่งมีอัตราการประหยัดภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (ฐานเงินได้ในส่วนที่มากขึ้น จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
ด้วย)

Exchange Traded Fund (ETF) คือ กองทุนเปิดที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น แต่กระจายความเสี่ยงเหมือน Index Fund ที่เสียค่าบริหารจัดการต่ำกว่ากองทุนอื่นๆ กองทุน ETF สามารถอ้างอิงสินค้าได้หลายประเภท เช่น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ (Equity ETF) ดัชนีราคาตราสารหนี้ (Bond ETF) และ ดัชนีราคาทองคำ (Gold ETF)




1. กองทุนเปิดไทยเด็กซ์เซ็ท 50 อีทีเอฟ
ThaiDEX SET50 ETF
2. กองทุนเปิดไทยเด็กซ์ FTSE SET Large Cap ETF
ThaiDEX FTSE SET Large Cap ETF



โดย ETF มีลักษณะสำคัญดังนี้
- ทำการซื้อขายได้ real time ผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น เสมือนเป็นหุ้นๆ หนึ่ง
- ผลตอบแทนของ ETF จะใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง
- สินทรัพย์ที่กองทุนถือ เป็นพอร์ตการลงทุนในดัชนีอ้างอิง
- ไม่มีกำหนดอายุโครงการ
- มีคุณสมบัติพิเศษที่ส่งเสริมการทำ market making และ arbitrage ส่งผลให้ราคาซื้อขายของหน่วยลงทุนใกล้เคียงกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย (Intraday Indicative Value: IIV)